ฝายแม้ว
เด็กหญิงนพมาศ สินธู ม.1/8 เลขที่ 12
ฝายแม้ว
ฝายแม้ว หรือ เช็คแดม (อังกฤษ: check dam) เป็นเขื่อนหรือฝายขนาดเล็กชะลอน้ำกึ่งถาวรประเภทหนึ่ง ฝายแม้วเป็นชื่อเรียกโครงการตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับวิศวกรรมแบบพื้นบ้าน ฝายแม้วเป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวรประเภทหนึ่ง ประเภทเดียวกับฝายคอกหมู โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็กๆ ให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่นานพอที่จะพื้นที่รอบๆจะได้ดูดซึมไปใช้ เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการเป็นป่าสมบูรณ์ขึ้นได้ ฝายแม้วยังอาจใช้เพื่อการทดน้ำ ให้มีระดับสูงพอที่จะดึงน้ำไปใช้ในคลองส่งน้ำได้ในฤดูแล้ง โครงการตามแนวพระราชดำรินี้ได้มีการทดลองใช้ที่โครงการห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และประสบผลสำเร็จจนเป็นตัวอย่างให้กับโครงการอื่น ๆ ต่อมา
ฝายแม้วยังถูกเรียกว่า ฝายชะลอน้ำ อีกด้วย
โครงการฝายชะลอน้ำ
ฝายแม้ว เป็นชื่อเรียก โครงการตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ วิศวกรรม แบบพื้นบ้าน ฝายแม้วเป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวรประเภทหนึ่ง ประเภทเดียวกับฝายคอกหมู โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็กๆ ให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่นานพอที่จะพื้นที่รอบๆจะได้ดูดซึมไปใช้ เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการเป็นป่าสมบูรณ์ขึ้นได้ ฝายแม้วยังอาจใช้เพื่อการทดน้ำ ให้มีระดับสูงพอที่จะดึงน้ำไปใช้ในคลองส่งน้ำได้ในฤดูแล้ง โครงการตามแนวพระราชดำรินี้ได้มีการทดลองใช้ที่ โครงการห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ และประสบผลสำเร็จจนเป็นตัวอย่างให้กับโครงการอื่นๆต่อมา
ฝายชะลอน้ำสร้างขวางทางไหลของน้ำบนลำธารขนาดเล็กไว้ เพื่อชะลอการไหล- ลดความรุนแรงของกระแสน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของตลิ่ง - เมื่อน้ำไหลช้าลง ก็มีน้ำอยู่ในลำห้วยนานขึ้น โดยเฉพาะในหน้าแล้ง - ช่วยดักตะกอนที่ไหลมากับน้ำ ลดการตื้นเขินที่ปลายน้ำ ทำให้น้ำใสมีคุณภาพดีขึ้น - ช่วยให้ดินชุ่มชื้น ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ - สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต คืนพืชแก่เนินเขา/ภูเขาหัวโล้น - ดินชื้น ป่าก็ชื้น กลายเป็นแนวกันไฟป่า ลดความรุนแรงของไฟได้
เพื่อรักษาความชุ่มชืนของผืนป่าและกักเก็บน้ำ ทางโครงการฯ ได้จัดทำฝายชะลอน้ำ ในต้นน้ำลำธาร ๒ สาย และเพื่อสร้างความเข้าใจให้ถูกต้อง สำหรับ โครงการ ฝายชะลอน้ำ ที่ทางเราได้จัดทำ ขึ้นมานั้น มีวัตถุประสงค์ และ วิธีการก่อสร้าง เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ในระยะยาว ดังนี้
๑. ฝายที่เราสร้างขึ้นมา เป็นฝายแบบไม่ถาวร ให้วัสดุจากธรรมชาติ เป็นหลัก สำหรับชะลอน้ำ ในหน้าแล้งเท่านั้น ไม่ได้สร้างเพื่อกักเก็บน้ำ การไหลของน้ำ ที่หน้าฝาย ยังมีน้ำไหลอยู่ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะซึมผ่านฝาย หรือ น้ำล้นข้ามฝาย
๒. ระดับความสูงของตัวฝาย ไม่สูงมากนัก ระดับความสูงประมาณ ๔๐ % ของความสูงของระดับน้ำสูงสุด ในลำคลองหรือลำห้วย สายน้ำยังสามารถไหลล้นผ่านฝายได้ ตลอดเวลา เพื่อยังรักษาระบบนิเวศน์ หน้าฝายไว้
๓ ตัวฝายควรมีระดับความลาดชัน ประมาณ ๒๐ - ๔๕ องศา ทั้งด้านหน้า และ ด้านหลัง ไม่ควรสร้างฝาย ที่มีหน้าตัด ๙๐ องศา
๔. การก่อสร้างจะสร้างเป็นช่วงๆ แบบ ขั้นบันได เป็นช่วงๆ ระยะขึ้นอยุ่กับพื้นที่ ประมาณ ๕๐ - ๒๐๐ เมตร ๔ งบประมาณการก่อสร้างเราแทบจะไม่มี เพียงช่วยกันขนหิน ที่ระเกะ ระกะ อยุ่ตามลำคลอง มาจัดเรียงใหม่ เท่านั้น เป็นการออกกำลังกายไปในตัว หากไม่มีหิน เราก็จะใช้กระสอบทราย
๕. หากหน้าน้ำ มีน้ำมา ฝายนี้ก็จะพังทลาย ลง (ช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำป่า ลงได้) หินที่ก่อเรียงตัวไว้ ก็จะพัง และ ไหลลงมาสู่ตัวฝาย ด้านล่าง ต่อไป
๖. พอหมดหน้าน้ำป่า น้ำเกือบจะใกล้แห้ง เราก็หาเวลามาออกกำลังกาย มายกก้อนหินกลับไปเรียง เป็นฝายชะลอน้ำ ตามเดิม (ส่วนใหญ่แล้ว จะยังหลงเหลือ โครงสร้างเดิมอยู่บ้าง) ใช้เวลาก่อสร้าง ประมาณ ๑-๒ ชม. ต่อฝายเท่านั้น
๗. ควรคำนึงถึง สัตว์น้ำ ที่อาศัยในลำคลองด้วยว่า สามารถเดินทางไปยังต้นน้ำได้หรือไม่ เพราะเราตั้งใจว่า “ในน้ำต้องมีปลา ในป่าต้องมีน้ำ
|
อ้างอิง